หน่วยที่ 3

หน่วยที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศ
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในยุคของสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้  จำเป็นที่จะต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรหมแดน  ช่วยอำนวยความสะดวก  และช่วยส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น    ในปัจจุบันเราจึงได้พบเห็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานต่าง ๆ จำนวนมาก
เทคโนโลยี  คือ  การประยุกต์เอาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์  เช่น  คอมพิวเตอร์  การสื่อสาร  โทรคมนาคมตลอดจนการศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในกิจการต่างๆ  เช่น  ด้านการแพทย์  การศึกษา  การค้า  และอุตสาหกรรม
สารสนเทศ  คือ  ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์
ดังนั้น  เทคโนโลยีสารสนเทศ  จึงหมายถึง  เครื่องหมายหรือวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวม  ประมวลผลเก็บรักษา  และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศ
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน  สามารถทำให้มนุษย์ทำงานได้รวดเร็ว  ถูกต้อง  และแม่นยำ
มากยิ่งขึ้น
2. ช่วยด้านการบริการ  มีการใช้ระบบฐานข้อมูลในเครือข่าย  ผู้ที่ต้องการใช้บริการก็จะสามารถ
ใช้ระบบฐานข้อมูลจากสถานที่หรืเวลาใดก็ได้
3. ช่วยดำเนินการในหน่วยงาน  เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดระบบการทำงาน
4. ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน  เช่น  การรับข้อความผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือการบันทึกข้อมูลรูปภาพด้วยกล้องดิจิทัล
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1. บันทึกและจัดเก็บข้อมูล  เป็นการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อใช้ในการประมวลผล  การรวบรวมข้อมูล จะใช้อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล  เช่น  แป้นพิมพ์  เครื่องอ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์  เครื่องอ่านบาร์โค้ด
2. การประมวลผล  ข้อมูลที่รวบรวมจากอุปกรณ์รับข้อมูลและจากสื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ  เช่น  แผ่นดิสเกตต์  แผ่นซีดี  และแผ่นดีวีดี  จะถูกนำมาประมวลผลตามดปรแกรมหรือคำสั่งที่กำหนด
3. การแสดงผล  เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลไปแสดงยังอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผล
การแสดงผลลัพธ์อาจอยู่ในรูปของตัวอักษร  ภาพ  เสียง  และสื่อประสมต่าง ๆ
4. การสื่อสารและเครือข่าย  เป็นการส่งข้อมูลและสารสนเทศที่หนึ่งไปยังอีก ที่หนึ่งเพื่อให้คอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์สื่อสารสามารถทำงานได้หลากหลายมากขึ้น  โดยเฉพาะการใช้อุปกรณ์และสารสนเทศร่วมกัน  การเชื่อมต่ออาจผ่านทางสายโทรศัพท์  ทางอากาศ  และสายเคเบิล

สาระน่ารู้
ปี  พ.ศ.2530  ระบบสารสนเทศและเครื่องคอมพิวเตอร์
มีการพัฒนามากขึ้นจนเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์
ซึ่งถือว่าเป็นการกำเนิดยุคแห่งสังคมสารสนเทศ

ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศจะส่งผลทั้งในด้านบวกและด้านลบต่อผู้ใช้งานโดยตรงและบุคคลรอบข้าง  ดังนี้
ผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต
          1. ส่งเสริมการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น  สามารถเลือกศึกษาเรื่องใด  สถานที่ใด  หรือเวลาใดก็ได้เกิดการเรียนการสอนทางไกล  การเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์  หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ
2. สร้างความเสมอภาคในสังคม  เผยแพร่ข่าวสารไปในทุกแห่งแม้ในถิ่นทุรกันดารต่าง ๆ
3. ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม  สามารถตรวจสอบและวางแผนรักษาสภาพแวดล้อมได้อย่าง ครอบคลุมและทั่วถึง  เพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
4. เพิ่มระบบป้องกันประเทศ  โดยมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับความมั่นคงของประเทศชาติ  ทำให้เกิดระบบป้องกันภัยและระบบเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังมีระบบการใช้คอมพิวเตอร์ในอาวุทยุทโธปกรณ์อีกด้วย
5. เพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตทางการค้า  จากการผลิตในระบบอุตสาหกรรมที่นำ เครื่องคอมพิวเตอร์มาควบคุม  ทำให้เกิดผลผลิตหรือสินค้าที่มีคุณภาพโดยใช้เวลาการผลิตที่สั้นลง
6. ส่งเสริมให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  เกิดการสร้างภาพยนตร์แอนนิเมชัน  มัลติมีเดีย และสิ่งประดิษฐ์ในรูปแบบต่างๆ  มากมาย
7. ช่วยให้สุขภาพและความเป็นอยู่ดีขึ้น  ด้วยเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย  ส่งผลให้การรักษา มีประสิทธิภาพ  และลดปัญหาความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
ผลกระทบด้านสังคม
สาระน่ารู้
ความปลอดภัยในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์  (Computer  Security)  คือ วิธีการรักษาความปลอดภัยที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันและตรวจสอบไม่ให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิ์เข้าใช้งานและ
สร้างความเสียหายแก่เครื่องคอมพิวเตอร์
1. การละเมิดลิขสิทธิ์  ทั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์  และการละเมิดลิขสิทธิ์ส่วนบุคคลโดยการนำข้อมูลของผู้อื่นไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต
2. การเข้าถึงและการใช้ข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต  โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อระบบเครือข่าย  ซึ่งผู้ไม่หวังดีอาจปล่อยไวรัสคอมพิวเตอร์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูลและเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นได้
3. การหลอกลวงผู้ใช้คอมพิวเตอร์  เนื่องจากใครก็สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไหนและเมื่อไหร่ก็ได้  ดังนั้นข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่น่าเชื่อถือเท่ากับแหล่งการเรียนรู้อื่น  และด้วยเหตุนี้จึงเป็นช่องทางในการหลอกลวงผู้ใช้คนอื่น ๆ
4. การทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะ เครื่องคอมพิวเตอร์  ถึงแม้จะมีการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย  แต่ผู้ใช้ก็ไม่ได้พบเห็นหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นโดยตรง  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมักขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  และเข้ากับผู้อื่นได้ยาก
5. การเผยแพร่วัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสม  เนื่องจากข้อมูลสารสนเทศไม่สามารถระบุเพศหรือวัยของผู้ใช้ได้  ข้อมูลจึงมีความหลากหลาย  ดังนั้นผู้รับข้อมูลอาจได้รับข้อมูลที่ไม่เหมาะสมต่อเพศและวัยของตนเองส่งผลให้เกิดความเชื่อที่ผิด  และอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้
ผลกระทบด้านการเรียนการสอน
เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้กับการศึกษา  ได้แก่  การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนระบบการสื่อสารทางไกลหรือโทรศึกษา  การเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ  และสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อผู้เรียนทางด้านบวกและด้านลบดังนี้
1. ผลกระทบทางด้านบวก
                - ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่  ทุกเวลา
                - ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในหัวข้อหรือเนื้อหาที่สนใจได้โดยไม่ต้องเรียงลำดับ
                - สื่อมีความน่าสนใจ  ส่งผลให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น
                - สื่อมีรูปแบบการนำเสนอแบบโต้ตอบกับผู้เรียน  เช่น  การทำแบบฝึกหัดแล้วสามารถเฉลยข้อสอบ ให้กับผู้เรียนได้ทันที
                - สื่อสามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่นำเสนอได้
                - ผู้เรียนสามารถติดต่อ  สอบถาม  และแสดงความคิดเห็นกับผู้สอนและผู้เรียนคนอื่นๆ ได้ด้วยสารสนทนาออนไลน์  กระดานแลกเปลี่ยน  หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
2. ผลกระทบทางด้านลบ
                - ผู้เรียนและผู้สอนจะต้องมีความพร้อมด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน
                - ผู้เรียนและผู้สอนจะต้องมีความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยี
                - เครื่องมือและอุปกรณ์จะต้องมีความทันสมัยเพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานที่หลากหลายได้  และควรเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
                - ผู้เรียนและผู้สอนขาดปฏิสัมพันธ์กันโดยตรง

สาระน่ารู้
กฎหมายเกี่ยวกับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน  คือ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  พ.ศ.2550
ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันการกระทำโดยมิชอบต่อข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์



แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เครื่องคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง
ในอดีตเครื่องคอมพิวเตอร์มีราคาแพง  ขนาดใหญ่  และทำงานได้อย่างจำกัด  ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์มีราคาถูก  มีขนาดเล็กลง  มีรูปทรงที่ทันสมัย  สวยงาม และสามารถทำงานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น  นอกจากนี้  ชิปที่อยู่ในหน่วยประมวลผลหรือซีพียู  ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง  จะมีขนาดเล็กลงและมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น  และยังการพัฒนาระบบการทำงานหรือการประมวลผลให้เป็นระบบการทำงานแบบขนาน  คือสามารถอ่านคำสั่งหลายๆ คำสั่ง เพื่อตอบสนองการทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกันเรียกว่า  เครื่องคอมพิวเตอร์แบบมัลติโพรเซสเซอร์  ซึ่งเหมาะกับงานคำนวณที่ซับซ้อนและมีข้อมูลจำนวนมาก
เทคโนโลยีสื่อประสม
เป็นการนำเสนอข้อมูลหรือสื่อในหลายรูปแบบพร้อม ๆ กัน  ได้แก่  การนำเสนอข้อมูลตัวอักษร  ข้อมูลเสียงและข้อมูลภาพเคลื่อนไหว  ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถแสดงข้อมูลในหลายรูปแบบพร้อมๆ กันได้อย่างสวยงามและสมจริง  นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีสื่อประสมให้สามารถส่งผ่านทางระบบเครือข่าย ได้รวดเร็วและสะดวกมากยิ่งขึ้น  ส่งผลให้เกิดเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการทำงานและการเรียนรู้
สาระน่ารู้
การนำเทคโนโลยีสื่อประสมมาใช้ในคอมพิวเตอร์เริ่มต้นในปี  พ.ศ.2534
จากการพัฒนาระบบปฏิบัติการวินโดวส์  3.0
เพื่อให้สามารถใช้งานข้อความและภาพนิ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
อุปกรณ์พกพาและไร้สาย
อุปกรณ์ต่าง ๆ มีขนาดเล็ก  น้ำหนักเบา  และทนทานมาก  นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาให้สามารถเชื่อมต่อ ข้อมูลกับระบบเครือข่ายได้โดยไม่ต้องอาศัยสายส่งสัญญาน  อุปกรณ์พกพาและไร้สายที่ใช้งานแพร่หลาย ในปัจจุบันมีการทำงานด้วยสัญญานวิทยุ  นิยมใช้ในการเชื่อมต่อสัญญานกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  มีการใช้งาน ระบบบลูทูท  สำหรับส่งข้อมูลในระยะใกล้ ๆ ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้ร่วมกับโทรศัพท์เคลื่อนที่
ปัญญาประดิษฐ์
ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ  เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถและพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์  รู้จักการใช้เหตุผล  และมีการเรียนรู้  ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้มากยิ่งขึ้น ปัญญาประดิษฐ์ประกอบด้วยสาขาวิชาต่าง ๆ  ดังนี้
1. ภาษาธรรมชาติ  คือ  ภาษาธรรมดาที่มนุษย์ใช้งานในชีวิตประจำวัน  เมื่อเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น
จึงมีผู้คิดค้นที่จะนำภาษาธรรมชาติมาใช้สั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ที่เป็นเทคโนโลยีอื่นๆ  เรียกว่ากระบวนการภาษาธรรมชาติ  โดยมีหลักการทำงานแบบง่ายๆ  คือ  แยกภาษาของมนุษย์ออกเป็นคำๆ จากนั้นแปลเป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ  แล้วจึงโต้ตอบกลับมายังมนุษย์อีกครั้งด้วยภาษาของมนุษย์เอง เช่น  การสั่งงานโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยเสียง
2. โครงข่ายประสาทเทียม  คือการสร้างคอมพิวเตอร์โดยจำลองวิธีการทำงานเหมือนสมองของมนุษย์ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักคิดและจดจำข้อมูล  ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถฟัง  อ่าน  และจำภาษามนุษย์ได้
เช่น  การวิเคราะห์และสร้างภาพเหมือนตามรูปพรรณคนร้าย
3. ระบบผู้เชี่ยวชาญ  คือ  การเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ ให้เป็นระบบ สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหา  โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ค้นหาคำตอบและแก้ปัญหาในสาขาวิชานั้นๆ
ซึ่งจัดเก็บไว้ในรูปแบบของฐานความรู้
4. ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์  คือ  การนำเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์มาประยุกต์ร่วมกับเครื่องจักร  เพื่อใช้ทำงานต่างๆ แทนมนุษย์ที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ทางด่วนข้อมูลสารสนเทศ
เทคโนโลยีทำให้มนุษย์สามารถสื่อสารและรับข้อมูลสารสนเทศจากทุกสถานที่ได้สะดวกรวดเร็ว  และทันเวลา  ทำให้เกิดบิควิตัสเทคโนโลยี  สังคมยูบิคตัส  หรือยูบิคอมป์  คือ  การจัดสภาพแวดล้อมของการสื่อสารใหม่และเป็นแนวโน้มของสังคมแห่งข้อมูลสารสนเทศ  โดยการนำคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องและระบบเครือข่ายมาใช้ร่วมกัน  ทำให้เกิดจุดเด่นในการเชื่อมโยงผู้ใช้งานกับเครือข่ายในทุกสถานที่นอกจากนี้ยังสร้างภาพการใช้งานที่ไม่จำกัดเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์  เช่น  ตู้เย็นอินเตอร์เน็ต  โทรทัศน์ดิจิทัล

สารน่ารู้
ยูบิควิตัส  เป็นภาษาละติน  หมายถึง  อยู่ในทุกแห่งหรือมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง

สารน่ารู้
ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีของภาษาธรรมชาติให้ใช้กับภาษาไทย
แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จมากนักเนื่องจากภาษาไทยมีลักษณะการเขียนที่เป็นรูปประโยค
ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถแยกแยะเป็นคำ ๆ แล้วแปลความหมายได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น