หน่วยที่ 1
ข้อมูลสารสนเทศ
ความหมายและประเภทของข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูล(Data) คือ สิ่งต่าง ๆ
หรือข้อเท็จจริง ที่ได้รับจากประสาทสัมผัสหรือสื่อต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ หรือการประมวลผล
โดยข้อมูลอาจเป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ตัวอักษร เสียง ภาพ ภาพ เคลื่อนไหว
เป็นต้น
สาระน่ารู้
ข้อมูลดิบ (Raw Data) คือ
ข้อมูลทุกรูปแบบที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล
การแบ่งประเภทของข้อมูลขึ้นอยู่กับ
- ความต้องการของผู้ใช้
- ลักษณะของข้อมูลที่นำไปใช้
- เกณฑ์ที่นำมาพิจารณา
ในหน่วยการเรียนนี้จะยกตัวอย่างการแบ่งข้อมูลไว้
4 รูปแบบ ดังนี้
1. การแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล เป็นการแบ่งข้อมูลโดยพิจารณาจากการรับข้อมูลของประสาทสัมผัสของร่างกาย
ได้แก่
- ข้อมูลภาพที่ได้รับจากการมองเห็นด้วยดวงตา
- ข้อมูลเสียงที่ได้รับจากการฟังด้วยหู
- ข้อมูลกลิ่นที่ได้รับจากการสูดดมด้วยจมูก
- ข้อมูลรสชาติที่ได้รับจากการรับรสชาติด้วยลิ้น
- ข้อมูลสัมผัสที่ได้รับจากความรู้สึกด้วยผิวหนัง
2. การแบ่งข้อมูลตามแหล่งข้อมูลที่ได้รับ โดยพิจารณาจากลักษณะของที่มาหรือการได้รับข้อมูล
ได้แก่
- ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ
ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรงด้วยวิธีต่างๆ เช่น
จากการสอบถามการสัมภาษณ์การสำรวจการจดบันทึก ตัวอย่างข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่
ข้อมูลการมาโรงเรียนสายของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งได้จากการจดบันทึกในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
- ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)
คือ
การนำข้อมูลที่ผู้อื่นได้เก็บรวบรวมหรือบันทึกไว้มาใช้งานผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเก็บรวบรวมและบันทึกด้วยตนเอง
จัดเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต มักผ่านการประมวลผลแล้ว
ตัวอย่างข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่
สถิติการมาโรงเรียนสายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปีพ.ศ.2550
3. การแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะคล้ายการแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล
แต่มีการแยกลักษณะข้อมูลตามชนิดและนามสกุลของข้อมูลนั้น ๆ ได้แก่
- ข้อมูลตัวอักษร เช่น ตัวหนังสือ
ตัวเลข และสัญลักษณ์
ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น .txt และ .doc
- ข้อมูลภาพ เช่น ภาพกราฟิกต่าง ๆ
และภาพถ่ายจากกล้องดิจิทัล ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น
.bmp .gif และ .jpg
- ข้อมูลเสียง เช่น เสียงพูด
เสียงดนตรี และเสียงเพลง ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้าย
ชื่อไฟล์เป็น .wav
.mp3 และ .au
- ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว เช่น
ภาพเคลื่อนไหว ภาพมิวสิกวีดีโอ ภาพยนตร์ คลิปวิดีโอ
ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น .avi
4. การแบ่งข้อมูลตามระบบคอมพิวเตอร์ มีลักษณะคล้ายและใกล้เคียงกับการแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาก
แต่มุ่งเน้นพิจารณาการแบ่งประเภทตามการนำข้อมูลไปใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์
ได้แก่
- ข้อมูลเชิงจำนวน
มีลักษณะเป็นตัวเลขที่สามารถนำมาคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ได้ เช่น จำนวนเงินในกระเป๋า
จำนวนค่าโดยสารรถประจำทาง และจำนวนนักเรียนในห้องเรียน
- ข้อมูลอักขระ มีลักษณะเป็นตัวอักษร
ตัวหนังสือ และสัญลักษณ์ ต่างๆ ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูล
และเรียงลำดับได้แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณได้ เช่น หมายเลขโทรศัพท์
เลขที่บ้านและชื่อของนักเรียน
- ข้อมูลกราฟิก
เป็นข้อมูลที่เกิดจากจุดพิกัดทางคอมพิวเตอร์
ทำให้เกิดรูปภาพหรือแผนที่ เช่น เครื่องหมายการค้า แบบก่อสร้างอาคาร
และกราฟ
- ข้อมูลภาพลักษณ์
เป็นข้อมูลแสดงความเข้มและสีของรูปภาพที่เกิดจากการสแกนของสแกนเนอร์เป็นหลัก
ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูล ย่อหรือขยาย และตัดต่อได้
แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณหรือดำเนินการ อย่างอื่นได้
สาระน่ารู้
ปัจจุบันบริษัท NTT Communications Corp
ประเทศญี่ปุ่นได้มีการทดลองส่งข้อมูลกลิ่นผ่านทางอินเตอร์เน็ต
โดยมีโครงการที่จะเปิดให้บริการ Aromatherapy online ในอนาคต
สารสนเทศ(Information) คือ
สิ่งที่ได้จากการประมวลผลของข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ในด้านการวางแผน
การพัฒนา การควบคุม และการตัดสินใจ
การแบ่งสารสนเทศสามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ เช่น
1. การแบ่งสารสนเทศตามหลักแห่งคุณภาพ
ได้แก่ สารสนเทศแข็งและสารสนเทศอ่อน
2. การแบ่งสารสนเทศตามแหล่งกำเนิด
ได้แก่ สารสนเทศภายในองค์กรและสารสนเทศภายนอกองค์กร
3. การแบ่งสารสนเทศตามสาขาความรู้ ได้แก่
สารสนเทศสาขามนุษยศาสตร์ สารสนเทศสาขาสังคมศาสตร์
สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสารสนเทศสาขาอื่น ๆ
4. การแบ่งตามการนำสารสนเทศไปใช้งาน
ได้แก่ สารสนเทศด้านการตลาด สารสนเทศ
ด้านการวิจัยและพัฒนาบุคลากร และสารสนเทศด้านการเงิน
5. การแบ่งตามการใช้และการถ่ายทอดสารสนเทศ
ได้แก่ สารสนเทศที่เน้นวิชาการ สารสนเทศที่เน้นเทคนิค
สารสนเทศที่เน้นบุคคล และสารสนเทศที่เน้นการปฏิบัติ
6. การแบ่งตามขั้นตอนของการพัฒนาสารสนเทศ
ได้แก่ สารสนเทศระยะแรกเริ่มและสารสนเทศระยะยาว
7. การแบ่งสารสนเทศตามวิธีการผลิตและการจัดทำ
ได้แก่ สารสนเทศต้นแบบและสารสนเทศ ปรุงแต่ง
8. การแบ่งสารสนเทศตามรูปแบบที่นำเสนอ
ได้แก่ สารสนเทศที่มีลักษณะเป็นเสียงสารสนเทศ ที่มีลักษณะเป็นข้อความ
สารสนเทศที่มีลักษณะเป็นโสตทัศนวัสดุ
และสารสนเทศที่มีลักษณะเป็นอิเล็กทรอนิกส์
9. การแบ่งสารสนเทศตามสภาพความต้องการที่จัดทำขึ้น
ได้แก่ สารสนเทศที่ทำประจำ
สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย
และสารสนเทศที่ได้รับหมอบหมายให้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ
สาระน่ารู้
การนำความรู้หรือวิธีการมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
ความถูกต้อง และความรวดเร็วให้แก่ สารสนเทศ
เรียกว่า
ไอทีหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT: Information Technology)
การจัดการสารสนเทศ
การจัดการสารสนเทศมี 3 ขั้นตอน คือ
การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูล
และการดูแลรักษาข้อมูล
การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
เป็นขั้นตอนแรกในการจัดการสารสนเทศ
ซึ่งควรกระทำควบคู่กันไป คือ เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วก็ทำการตรวจสอบข้อมูลนั้นทันที
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามความต้องการมากที่สุด
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
เป็นการจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก
จึงควรกำหนดว่าจะต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้าง ข้อมูลได้มาจากไหน
และจัดเก็บข้อมูลนั้นมาได้อย่างไร
2. การตรวจสอบข้อมูล
เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อได้สารสนเทศที่คุณภาพ
การประมวลผลข้อมูล
การประมวลผลข้อมูล คือ
การนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วหรือข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมและตรวจสอบมากระทำเพื่อให้ข้อมูลเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
ดังนี้
1. การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล
เป็นการแยกประเภทของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาอย่างเป็นระบบตามกลุ่มและประเภทของข้อมูลนั้น
เพื่อให้สามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้อาจเก็บไว้ในรูปของแฟ้มเอกสารหรือแฟ้มข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
2. การจัดเรียงข้อมูล
เป็นขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาหรืออ้างอิงข้อมูลในอนาคต
3. การคำนวณ
เป็นการประมวลผลที่ต้องการผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่มีความละเอียดถูกต้อง
แม่นยำ
เนื่องจากที่รวบรวมและจัดเก็บมานั้นอาจมีทั้งรูปแบบของข้อความและตัวเลข
ซึ่งต้องมีการคำนวณหาค่าเฉลี่ยหรือผลรวมของข้อมูลนั้น ๆ
4. การทำรายงาน
เป็นการประมวลผลที่มีความสลับซับซ้อนมากที่สุด
โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่ ข้อมูลในอนาคต ผู้ดำเนินการจะต้องสรุปข้อมูลเพื่อทำรายงานให้ตรงกับความต้องการในการใช้สารสนเทศ
นั้น ๆ โดยจะต้องนำเสนอรายงานในรูปแบบที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการสารสนเทศ
การดูแลรักษาข้อมูล
การดูแลรักษาข้อมูล
เป็นขั้นตอนการจัดการสารสนเทศมีจุดประสงค์หลักเพื่อป้องกันและเก็บรักษาข้อมูล
ไม่ให้สูญหาย
ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลสำหรับนำกลับมาใช้ใหม่ในอนาคต
1. การจัดเก็บ
คือการนำข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบและประมวลผลแล้วมาบันทึกเข้าสู่ระบบข้อมูลอย่างมีระเบียบและเป็นหมวดหมู่
เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้งาน ทั้งนี้อาจจัดเก็บไว้ในรูปแบบของแฟ้มเอกสาร สิ่งพิมพ์หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
2. การทำสำเนา คือ
การเพิ่มจำนวนข้อมูลด้านปริมาณ
โดยเนื้อหาของข้อมูลจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากต้นฉบับหรือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว
สามารถกระทำได้โดยการคัดลอกทั้งจากมนุษย์หรือ เครื่องจักรต่าง ๆ
ซึ่งเป็นเครื่องถ่ายเอกสารหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้
3. การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล คือ
การนำสำเนาที่ทำเพิ่มไว้แจกจ่ายให้แก่ผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้อง
4. การปรับปรุงข้อมูล คือ
การแก้ไขปรับปรุงรายการข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
อาจกระทำโดยการแก้ไขข้อมูลบางส่วนหรือบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมลงในระบบข้อมูล
สาระน่ารู้
การจัดการสารสนเทศมีการพัฒนาไปตามเทคโนโลยีที่หลากหลาย
ทำให้สามารถนำผลที่ได้รับไปใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น
จนถือได้ว่า การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการสารสนเทศ
วิธีการประมวลผลข้อมูล
การประมวลผลข้อมูลสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
การประมวลผลแบบกลุ่มและการประมวลผลแบบทันที ดังนี้
1. การประมวลผลแบบกลุ่ม ข้อมูลของการประมวลผลแบบนี้จะถูกเก็บสะสมไว้ในช่วงเวลาที่กำหนด
เช่น 7 วัน หรือ 1
เดือน
แล้วจึงนำข้อมูลที่สะสมไว้มาประมวลผลรวมกันครั้งเดียว เช่น
การคำนวณค่าบริการน้ำประปา
โดยข้อมูลปริมาณน้ำที่ใช้ทั้งหมดจะถูกเก็บบันทึกไว้ในรอบ 1
เดือน แล้วจึงนำมาประมวลผลเป็นค่าน้ำประปาในครั้งเดียว
การประมวลผลแบบนี้มักมีความผิดพลาดสูง
แต่เสียค่าใช้จ่ายในการประมวลผลน้อย
2. การประมวลผลแบบทันที
เป็นการประมวลผลที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรับข้อมูลหรือหลังจากได้รับข้อมูลทันที
เช่นการฝากและถอนเงินธนาคาร เมื่อลูกค้าฝากเงิน
ข้อมูลนั้นจะถูกระมวลผลทันที ทำให้ยอดฝากในบัญชีนั้นมีการเปลี่ยนแปลง
การประมวลผลแบบนี้จะมีความผิดพลาดน้อย
แต่เสียค่าใช้จ่ายในการประมวลผลมาก
สาระน่ารู้
การประมวลผลแบบทันที
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (Online Processisng)
เนื่องจากลักษณะการทำงานจะต้องเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระดับของสารสนเทศ
ระดับขององค์กร
1. สารสนเทศระดับบุคคล คือ
สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานให้แก่ผู้ใช้แต่ละคน
ทำให้ทำงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ซึ่งสารสนเทศที่ใช้จะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของการทำงานและความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล
เช่นพนักงานขายใช้สารสนเทศในการนำเสนอสินค้าให้ดูน่าสนใจ
และนักเรียนใช้สารสนเทศทำรายงานที่สะอาดและเรียบร้อย
2. สารสนเทศระดับกลุ่ม คือ สารสนเทศที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีจุดมุ่งหมาย
ในการทำงานอย่างเดียวกัน
ซึ่งส่งเสริมการใช้ข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานร่วมกัน
สารสนเทศระดับกลุ่มจึงมีการใช้ระบบเครือข่ายมาร่วมในการทำงาน
จึงทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และข้อมูลที่เก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลร่วมกัน
ด้วยการสร้างแฟ้มข้อมูลขึ้นที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์
ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเก็บข้อมูล เช่น
พนักงานขายสามารถใช้ข้อมูลสิ้นค้าแบบเดียวกันได้ทุกคน
และนักเรียนสามารถสั่งพิมพ์เอกสารด้วยเครื่องพิมพ์เดียวกันจากคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
3. สารสนเทศระดับองค์กร คือ
สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานในภาพรวมขององค์กร
ซึ่งจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในหลายฝ่าย
จึงมีการเชื่อมโยงสารสนเทศระดับกลุ่มหลาย ๆ กลุ่มเข้าด้วยกัน
ทำให้เกิดประโยชน์ในการบริหารงานในระดับผู้ปฏิบัติการและผู้บริหารระดับสูง
ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลจากฝ่ายใดก็ได้ เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจ
ระดับของผู้บริหาร
1. ผู้บริหารระดับล่าง
เป็นการใช้สารสนเทศในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่น
ผู้จัดการใช้โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนสารสนเทศกับหัวหน้าแผนกต่างๆ
และนักเรียนใช้สารสนเทศในการทำงานหรือในการเรียนในวิชาต่างๆ
2. ผู้บริหารระดับกลาง
เป็นการใช้สารสนเทศเพื่อการวางแผนระยะสั้น เหมาะสำหรับงานประเภท
การควบคุมและจัดการ เช่น
ผู้จัดการนำสารสนเทศมาวางแผนการผลิตสินค้าให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า
และนักเรียนใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเลือกเรียนวิชาเลือกที่เหมาะสมกับนักเรียน
3. ผู้บริหารระดับสูง
เป็นการใช้สารสนเทศเพื่อการวางแผนระยะยาว ใช้สำหรับควบคุมนโยบาย
และวางแผนเชิงกลยุทธ์
สารสนเทศที่ใช้จึงมักเป็นผลสรุปที่สามารถนำมาประกอบ การวิเคราะห์ การประเมินและการตัดสินใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
เช่นผู้จัดการนำผลสรุปค่าเฉลี่ยการผลิตสินค้ามาใช้ในการตัดสินใจซื้อ
เครื่องจักรใหม่ และนักเรียน
ใช้ผลสรุปคะแนนเรียนทั้งหมดมาตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
ตามความสามารถ เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพ
สาระน่ารู้
นอกจากระดับสารสนเทศที่แบ่งตามองค์กรและผู้บริหารแล้ว ยังสามารถแบ่งสารสนเทศตามระดับของความซับซ้อนของข้อมูลในสารสนเทศได้อีกด้วย
หน่วยที่ 1
ข้อมูลสารสนเทศ
ความหมายและประเภทของข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูล(Data) คือ สิ่งต่าง ๆ
หรือข้อเท็จจริง ที่ได้รับจากประสาทสัมผัสหรือสื่อต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ หรือการประมวลผล
โดยข้อมูลอาจเป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ตัวอักษร เสียง ภาพ ภาพ เคลื่อนไหว
เป็นต้น
สาระน่ารู้
ข้อมูลดิบ (Raw Data) คือ
ข้อมูลทุกรูปแบบที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล
การแบ่งประเภทของข้อมูลขึ้นอยู่กับ
- ความต้องการของผู้ใช้
- ลักษณะของข้อมูลที่นำไปใช้
- เกณฑ์ที่นำมาพิจารณา
ในหน่วยการเรียนนี้จะยกตัวอย่างการแบ่งข้อมูลไว้
4 รูปแบบ ดังนี้
1. การแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล เป็นการแบ่งข้อมูลโดยพิจารณาจากการรับข้อมูลของประสาทสัมผัสของร่างกาย
ได้แก่
- ข้อมูลภาพที่ได้รับจากการมองเห็นด้วยดวงตา
- ข้อมูลเสียงที่ได้รับจากการฟังด้วยหู
- ข้อมูลกลิ่นที่ได้รับจากการสูดดมด้วยจมูก
- ข้อมูลรสชาติที่ได้รับจากการรับรสชาติด้วยลิ้น
- ข้อมูลสัมผัสที่ได้รับจากความรู้สึกด้วยผิวหนัง
2. การแบ่งข้อมูลตามแหล่งข้อมูลที่ได้รับ โดยพิจารณาจากลักษณะของที่มาหรือการได้รับข้อมูล
ได้แก่
- ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ
ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรงด้วยวิธีต่างๆ เช่น
จากการสอบถามการสัมภาษณ์การสำรวจการจดบันทึก ตัวอย่างข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่
ข้อมูลการมาโรงเรียนสายของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งได้จากการจดบันทึกในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
- ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)
คือ
การนำข้อมูลที่ผู้อื่นได้เก็บรวบรวมหรือบันทึกไว้มาใช้งานผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเก็บรวบรวมและบันทึกด้วยตนเอง
จัดเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต มักผ่านการประมวลผลแล้ว
ตัวอย่างข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่
สถิติการมาโรงเรียนสายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปีพ.ศ.2550
3. การแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะคล้ายการแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล
แต่มีการแยกลักษณะข้อมูลตามชนิดและนามสกุลของข้อมูลนั้น ๆ ได้แก่
- ข้อมูลตัวอักษร เช่น ตัวหนังสือ
ตัวเลข และสัญลักษณ์
ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น .txt และ .doc
- ข้อมูลภาพ เช่น ภาพกราฟิกต่าง ๆ
และภาพถ่ายจากกล้องดิจิทัล ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น
.bmp .gif และ .jpg
- ข้อมูลเสียง เช่น เสียงพูด
เสียงดนตรี และเสียงเพลง ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้าย
ชื่อไฟล์เป็น .wav
.mp3 และ .au
- ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว เช่น
ภาพเคลื่อนไหว ภาพมิวสิกวีดีโอ ภาพยนตร์ คลิปวิดีโอ
ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น .avi
4. การแบ่งข้อมูลตามระบบคอมพิวเตอร์ มีลักษณะคล้ายและใกล้เคียงกับการแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาก
แต่มุ่งเน้นพิจารณาการแบ่งประเภทตามการนำข้อมูลไปใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์
ได้แก่
- ข้อมูลเชิงจำนวน
มีลักษณะเป็นตัวเลขที่สามารถนำมาคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ได้ เช่น จำนวนเงินในกระเป๋า
จำนวนค่าโดยสารรถประจำทาง และจำนวนนักเรียนในห้องเรียน
- ข้อมูลอักขระ มีลักษณะเป็นตัวอักษร
ตัวหนังสือ และสัญลักษณ์ ต่างๆ ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูล
และเรียงลำดับได้แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณได้ เช่น หมายเลขโทรศัพท์
เลขที่บ้านและชื่อของนักเรียน
- ข้อมูลกราฟิก
เป็นข้อมูลที่เกิดจากจุดพิกัดทางคอมพิวเตอร์
ทำให้เกิดรูปภาพหรือแผนที่ เช่น เครื่องหมายการค้า แบบก่อสร้างอาคาร
และกราฟ
- ข้อมูลภาพลักษณ์
เป็นข้อมูลแสดงความเข้มและสีของรูปภาพที่เกิดจากการสแกนของสแกนเนอร์เป็นหลัก
ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูล ย่อหรือขยาย และตัดต่อได้
แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณหรือดำเนินการ อย่างอื่นได้
สาระน่ารู้
ปัจจุบันบริษัท NTT Communications Corp
ประเทศญี่ปุ่นได้มีการทดลองส่งข้อมูลกลิ่นผ่านทางอินเตอร์เน็ต
โดยมีโครงการที่จะเปิดให้บริการ Aromatherapy online ในอนาคต
สารสนเทศ(Information) คือ
สิ่งที่ได้จากการประมวลผลของข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ในด้านการวางแผน
การพัฒนา การควบคุม และการตัดสินใจ
การแบ่งสารสนเทศสามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ เช่น
1. การแบ่งสารสนเทศตามหลักแห่งคุณภาพ
ได้แก่ สารสนเทศแข็งและสารสนเทศอ่อน
2. การแบ่งสารสนเทศตามแหล่งกำเนิด
ได้แก่ สารสนเทศภายในองค์กรและสารสนเทศภายนอกองค์กร
3. การแบ่งสารสนเทศตามสาขาความรู้ ได้แก่
สารสนเทศสาขามนุษยศาสตร์ สารสนเทศสาขาสังคมศาสตร์
สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสารสนเทศสาขาอื่น ๆ
4. การแบ่งตามการนำสารสนเทศไปใช้งาน
ได้แก่ สารสนเทศด้านการตลาด สารสนเทศ
ด้านการวิจัยและพัฒนาบุคลากร และสารสนเทศด้านการเงิน
5. การแบ่งตามการใช้และการถ่ายทอดสารสนเทศ
ได้แก่ สารสนเทศที่เน้นวิชาการ สารสนเทศที่เน้นเทคนิค
สารสนเทศที่เน้นบุคคล และสารสนเทศที่เน้นการปฏิบัติ
6. การแบ่งตามขั้นตอนของการพัฒนาสารสนเทศ
ได้แก่ สารสนเทศระยะแรกเริ่มและสารสนเทศระยะยาว
7. การแบ่งสารสนเทศตามวิธีการผลิตและการจัดทำ
ได้แก่ สารสนเทศต้นแบบและสารสนเทศ ปรุงแต่ง
8. การแบ่งสารสนเทศตามรูปแบบที่นำเสนอ
ได้แก่ สารสนเทศที่มีลักษณะเป็นเสียงสารสนเทศ ที่มีลักษณะเป็นข้อความ
สารสนเทศที่มีลักษณะเป็นโสตทัศนวัสดุ
และสารสนเทศที่มีลักษณะเป็นอิเล็กทรอนิกส์
9. การแบ่งสารสนเทศตามสภาพความต้องการที่จัดทำขึ้น
ได้แก่ สารสนเทศที่ทำประจำ
สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย
และสารสนเทศที่ได้รับหมอบหมายให้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ
สาระน่ารู้
การนำความรู้หรือวิธีการมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
ความถูกต้อง และความรวดเร็วให้แก่ สารสนเทศ
เรียกว่า
ไอทีหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT: Information Technology)
การจัดการสารสนเทศ
การจัดการสารสนเทศมี 3 ขั้นตอน คือ
การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูล
และการดูแลรักษาข้อมูล
การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
เป็นขั้นตอนแรกในการจัดการสารสนเทศ
ซึ่งควรกระทำควบคู่กันไป คือ เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วก็ทำการตรวจสอบข้อมูลนั้นทันที
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามความต้องการมากที่สุด
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
เป็นการจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก
จึงควรกำหนดว่าจะต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้าง ข้อมูลได้มาจากไหน
และจัดเก็บข้อมูลนั้นมาได้อย่างไร
2. การตรวจสอบข้อมูล
เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อได้สารสนเทศที่คุณภาพ
การประมวลผลข้อมูล
การประมวลผลข้อมูล คือ
การนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วหรือข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมและตรวจสอบมากระทำเพื่อให้ข้อมูลเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
ดังนี้
1. การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล
เป็นการแยกประเภทของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาอย่างเป็นระบบตามกลุ่มและประเภทของข้อมูลนั้น
เพื่อให้สามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้อาจเก็บไว้ในรูปของแฟ้มเอกสารหรือแฟ้มข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
2. การจัดเรียงข้อมูล
เป็นขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาหรืออ้างอิงข้อมูลในอนาคต
3. การคำนวณ
เป็นการประมวลผลที่ต้องการผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่มีความละเอียดถูกต้อง
แม่นยำ
เนื่องจากที่รวบรวมและจัดเก็บมานั้นอาจมีทั้งรูปแบบของข้อความและตัวเลข
ซึ่งต้องมีการคำนวณหาค่าเฉลี่ยหรือผลรวมของข้อมูลนั้น ๆ
4. การทำรายงาน
เป็นการประมวลผลที่มีความสลับซับซ้อนมากที่สุด
โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่ ข้อมูลในอนาคต ผู้ดำเนินการจะต้องสรุปข้อมูลเพื่อทำรายงานให้ตรงกับความต้องการในการใช้สารสนเทศ
นั้น ๆ โดยจะต้องนำเสนอรายงานในรูปแบบที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการสารสนเทศ
การดูแลรักษาข้อมูล
การดูแลรักษาข้อมูล
เป็นขั้นตอนการจัดการสารสนเทศมีจุดประสงค์หลักเพื่อป้องกันและเก็บรักษาข้อมูล
ไม่ให้สูญหาย
ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลสำหรับนำกลับมาใช้ใหม่ในอนาคต
1. การจัดเก็บ
คือการนำข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบและประมวลผลแล้วมาบันทึกเข้าสู่ระบบข้อมูลอย่างมีระเบียบและเป็นหมวดหมู่
เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้งาน ทั้งนี้อาจจัดเก็บไว้ในรูปแบบของแฟ้มเอกสาร สิ่งพิมพ์หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
2. การทำสำเนา คือ
การเพิ่มจำนวนข้อมูลด้านปริมาณ
โดยเนื้อหาของข้อมูลจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากต้นฉบับหรือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว
สามารถกระทำได้โดยการคัดลอกทั้งจากมนุษย์หรือ เครื่องจักรต่าง ๆ
ซึ่งเป็นเครื่องถ่ายเอกสารหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้
3. การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล คือ
การนำสำเนาที่ทำเพิ่มไว้แจกจ่ายให้แก่ผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้อง
4. การปรับปรุงข้อมูล คือ
การแก้ไขปรับปรุงรายการข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
อาจกระทำโดยการแก้ไขข้อมูลบางส่วนหรือบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมลงในระบบข้อมูล
สาระน่ารู้
การจัดการสารสนเทศมีการพัฒนาไปตามเทคโนโลยีที่หลากหลาย
ทำให้สามารถนำผลที่ได้รับไปใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น จนถือได้ว่า การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการสารสนเทศ
ทำให้สามารถนำผลที่ได้รับไปใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น จนถือได้ว่า การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการสารสนเทศ
วิธีการประมวลผลข้อมูล
การประมวลผลข้อมูลสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
การประมวลผลแบบกลุ่มและการประมวลผลแบบทันที ดังนี้
1. การประมวลผลแบบกลุ่ม ข้อมูลของการประมวลผลแบบนี้จะถูกเก็บสะสมไว้ในช่วงเวลาที่กำหนด
เช่น 7 วัน หรือ 1 เดือน แล้วจึงนำข้อมูลที่สะสมไว้มาประมวลผลรวมกันครั้งเดียว เช่น การคำนวณค่าบริการน้ำประปา โดยข้อมูลปริมาณน้ำที่ใช้ทั้งหมดจะถูกเก็บบันทึกไว้ในรอบ 1 เดือน แล้วจึงนำมาประมวลผลเป็นค่าน้ำประปาในครั้งเดียว การประมวลผลแบบนี้มักมีความผิดพลาดสูง แต่เสียค่าใช้จ่ายในการประมวลผลน้อย
เช่น 7 วัน หรือ 1 เดือน แล้วจึงนำข้อมูลที่สะสมไว้มาประมวลผลรวมกันครั้งเดียว เช่น การคำนวณค่าบริการน้ำประปา โดยข้อมูลปริมาณน้ำที่ใช้ทั้งหมดจะถูกเก็บบันทึกไว้ในรอบ 1 เดือน แล้วจึงนำมาประมวลผลเป็นค่าน้ำประปาในครั้งเดียว การประมวลผลแบบนี้มักมีความผิดพลาดสูง แต่เสียค่าใช้จ่ายในการประมวลผลน้อย
2. การประมวลผลแบบทันที
เป็นการประมวลผลที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรับข้อมูลหรือหลังจากได้รับข้อมูลทันที
เช่นการฝากและถอนเงินธนาคาร เมื่อลูกค้าฝากเงิน
ข้อมูลนั้นจะถูกระมวลผลทันที ทำให้ยอดฝากในบัญชีนั้นมีการเปลี่ยนแปลง
การประมวลผลแบบนี้จะมีความผิดพลาดน้อย
แต่เสียค่าใช้จ่ายในการประมวลผลมาก
สาระน่ารู้
การประมวลผลแบบทันที
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (Online Processisng)
เนื่องจากลักษณะการทำงานจะต้องเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (Online Processisng)
เนื่องจากลักษณะการทำงานจะต้องเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระดับของสารสนเทศ
ระดับขององค์กร
1. สารสนเทศระดับบุคคล คือ
สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานให้แก่ผู้ใช้แต่ละคน
ทำให้ทำงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ซึ่งสารสนเทศที่ใช้จะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของการทำงานและความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล
เช่นพนักงานขายใช้สารสนเทศในการนำเสนอสินค้าให้ดูน่าสนใจ
และนักเรียนใช้สารสนเทศทำรายงานที่สะอาดและเรียบร้อย
2. สารสนเทศระดับกลุ่ม คือ สารสนเทศที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีจุดมุ่งหมาย
ในการทำงานอย่างเดียวกัน ซึ่งส่งเสริมการใช้ข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานร่วมกัน สารสนเทศระดับกลุ่มจึงมีการใช้ระบบเครือข่ายมาร่วมในการทำงาน จึงทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และข้อมูลที่เก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลร่วมกัน ด้วยการสร้างแฟ้มข้อมูลขึ้นที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเก็บข้อมูล เช่น พนักงานขายสามารถใช้ข้อมูลสิ้นค้าแบบเดียวกันได้ทุกคน และนักเรียนสามารถสั่งพิมพ์เอกสารด้วยเครื่องพิมพ์เดียวกันจากคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
ในการทำงานอย่างเดียวกัน ซึ่งส่งเสริมการใช้ข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานร่วมกัน สารสนเทศระดับกลุ่มจึงมีการใช้ระบบเครือข่ายมาร่วมในการทำงาน จึงทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และข้อมูลที่เก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลร่วมกัน ด้วยการสร้างแฟ้มข้อมูลขึ้นที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเก็บข้อมูล เช่น พนักงานขายสามารถใช้ข้อมูลสิ้นค้าแบบเดียวกันได้ทุกคน และนักเรียนสามารถสั่งพิมพ์เอกสารด้วยเครื่องพิมพ์เดียวกันจากคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
3. สารสนเทศระดับองค์กร คือ
สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานในภาพรวมขององค์กร
ซึ่งจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในหลายฝ่าย
จึงมีการเชื่อมโยงสารสนเทศระดับกลุ่มหลาย ๆ กลุ่มเข้าด้วยกัน
ทำให้เกิดประโยชน์ในการบริหารงานในระดับผู้ปฏิบัติการและผู้บริหารระดับสูง
ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลจากฝ่ายใดก็ได้ เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจ
ระดับของผู้บริหาร
1. ผู้บริหารระดับล่าง
เป็นการใช้สารสนเทศในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่น
ผู้จัดการใช้โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนสารสนเทศกับหัวหน้าแผนกต่างๆ และนักเรียนใช้สารสนเทศในการทำงานหรือในการเรียนในวิชาต่างๆ
ผู้จัดการใช้โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนสารสนเทศกับหัวหน้าแผนกต่างๆ และนักเรียนใช้สารสนเทศในการทำงานหรือในการเรียนในวิชาต่างๆ
2. ผู้บริหารระดับกลาง
เป็นการใช้สารสนเทศเพื่อการวางแผนระยะสั้น เหมาะสำหรับงานประเภท
การควบคุมและจัดการ เช่น ผู้จัดการนำสารสนเทศมาวางแผนการผลิตสินค้าให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า และนักเรียนใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเลือกเรียนวิชาเลือกที่เหมาะสมกับนักเรียน
การควบคุมและจัดการ เช่น ผู้จัดการนำสารสนเทศมาวางแผนการผลิตสินค้าให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า และนักเรียนใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเลือกเรียนวิชาเลือกที่เหมาะสมกับนักเรียน
3. ผู้บริหารระดับสูง
เป็นการใช้สารสนเทศเพื่อการวางแผนระยะยาว ใช้สำหรับควบคุมนโยบาย
และวางแผนเชิงกลยุทธ์ สารสนเทศที่ใช้จึงมักเป็นผลสรุปที่สามารถนำมาประกอบ การวิเคราะห์ การประเมินและการตัดสินใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่นผู้จัดการนำผลสรุปค่าเฉลี่ยการผลิตสินค้ามาใช้ในการตัดสินใจซื้อ
เครื่องจักรใหม่ และนักเรียน ใช้ผลสรุปคะแนนเรียนทั้งหมดมาตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
ตามความสามารถ เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพ
และวางแผนเชิงกลยุทธ์ สารสนเทศที่ใช้จึงมักเป็นผลสรุปที่สามารถนำมาประกอบ การวิเคราะห์ การประเมินและการตัดสินใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่นผู้จัดการนำผลสรุปค่าเฉลี่ยการผลิตสินค้ามาใช้ในการตัดสินใจซื้อ
เครื่องจักรใหม่ และนักเรียน ใช้ผลสรุปคะแนนเรียนทั้งหมดมาตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
ตามความสามารถ เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพ
สาระน่ารู้
นอกจากระดับสารสนเทศที่แบ่งตามองค์กรและผู้บริหารแล้ว ยังสามารถแบ่งสารสนเทศตามระดับของความซับซ้อนของข้อมูลในสารสนเทศได้อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น